หลายท่านคงเคยใช้เครื่องคิดเลขคำนวณหาจำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ซึ่งท่านจะต้องกดเครื่องคิดเลขไล่ตั้งแต่วันเริ่มต้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวันสุดท้าย ทำให้ใช้เวลานานกว่าจะได้จำนวนวันในการคำนวณผลลัพธ์ ฝ่าย ตส. จึงขอนำเสนอตารางการคำนวณ เพื่อใช้ในการคำนวณหาจำนวนวันแทนการใช้เครื่องคิดเลขคำนวณ มี 2 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. เลือกตารางการคำนวณ 365 วัน หรือ 366 วัน

 

      ก่อนอื่นท่านจะต้องทราบว่าปีที่ใช้ในการคำนวณหาจำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย มีจำนวน 365 วัน หรือจำนวน 366 วัน โดยพิจารณาจากเดือนกุมภาพันธ์ว่ามีกี่วัน

      วิธีคิด 1) ปรับปี พ.ศ. ให้เป็นปี ค.ศ. ด้วยการนำปี พ.ศ. ลบด้วย 543

               2) นำผลลัพธ์ที่ได้จากข้อ 1) มาหาร 4 จะได้ผลลัพธ์ตัวเลข 2 กรณี

                  2.1) กรณีหาร 4 แล้วได้ผลลัพธ์ตัวเลขจำนวนเต็มบวก แสดงว่าเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ให้ท่านใช้ตารางการคำนวณ 366 วัน

                 2.2) กรณีหาร 4 แล้วได้ผลลัพธ์ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม แสดงว่าเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน ให้ท่านใช้ตารางการคำนวณ 365 วัน

 

                         ตัวอย่าง หากท่านต้องการทราบว่าในปี พ.ศ. 2562 เดือนกุมภาพันธ์กี่วัน?  

                       วิธีคิด 1) 2562 - 543 = 2019

                                2) 2019/4 = 504.75

                       ดังนั้น จากตัวอย่าง ได้ผลลัพธ์ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม คือ 504.75 แสดงว่าเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน ให้ท่านใช้ตารางการคำนวณ 365 วัน          

                

2. หาผลลัพธ์ที่ได้จากช่องที่ตัดระหว่างวันเริ่มต้น (แนวนอน) และเดือน (แนวตั้ง) ในตารางการคำนวณ

       วิธีคิด 3) เมื่อท่านทราบแล้วว่าวันเดือนปีที่เริ่มต้นในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่ายคือวันไหนแล้ว ให้ท่านหาผลลัพธ์ที่ได้จากช่องที่ตัดระหว่างวันเริ่มต้น (แนนนอน) และเดือน (แนวตั้ง) ในตารางการคำนวณ โดย

                     3.1) ให้ท่านลากลูกศรตามแนวนอนจากช่องวันเริ่มต้นไปทางด้านขวามือเรื่อยๆ จนสุดตารางการคำนวณ

                     3.2) ให้ท่านลากลูกศรตามแนวตั้งจากช่องเดือนลงด้านล่างเรื่อยๆ จนสุดตารางการคำนวณ

                     3.3) ท่านจะได้ผลลัพธ์จากจุดตัดระหว่างวันเริ่มต้นและเดือนในตารางการคำนวณ ช่องที่ตัดนั่นคือผลลัพธ์จำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

                             ตัวอย่าง หากท่านต้องการทราบว่าวันที่ 9 มีนาคม 2559 จะได้จำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่ายกี่วัน?  

                      วิธีคิด 1) 2559 - 543 = 2016

                               2) 2016/4 = 504 ได้ผลลัพธ์ตัวเลขจำนวนเต็มบวก คือ 504 แสดงว่าเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน จึงใช้ตารางการคำนวณ 366 วัน

                               3) ลากลูกศรที่ช่องวันเริ่มต้น (แนวนอน) และเดือน (แนวตั้ง) ตามวันที่ 9 มีนาคม 2559

(หมายเหตุ : ตารางนี้ใช้สำหรับงบการเงินที่มีรอบปีงบประมาณ เริ่ม 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559)

 

       ดังนั้น จากตัวอย่างจะได้ผลลัพธ์จำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย คือ 206 วัน

       จะเห็นได้ว่า การคำนวณหาจำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่ายไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพียง 2 ขั้นตอนง่ายๆ ท่านก็จะทราบผลลัพธ์จำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่ายทันที ทั้งนี้ ท่านสามารถดาวน์โหลดตารางการคำนวณคำนวณหาจำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในเว็บไซต์งานตรวจสอบภายในสำนักงาน กกพ.

        กรณีการคำนวณหาจำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์

        หากท่านต้องการทราบจำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ปี พ.ศ. 2560 โดยมีการตรวจรับสินทรัพย์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559

        วิธีคิด 1) 2560 – 543 = 2017

                 2) 2017/4 = 504.25 ได้ผลลัพธ์ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม คือ 504.25 แสดงว่าเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน ให้ท่านใช้ตารางการคำนวณ 365 วัน

                 3) ลากลูกศรที่ช่องวันเริ่มต้น (แนวนอน) และเดือน (แนวตั้ง) ตามวันที่ 9 ธันวาคม 2559

(หมายเหตุ : ตารางนี้ใช้สำหรับงบการเงินที่มีรอบปีงบประมาณ เริ่ม 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560)

 

         ดังนั้น จากตัวอย่างจะได้ผลลัพธ์จำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ คือ 296 วัน

         กรณีการคำนวณวันของดอกเบี้ยค้างรับ

         หากท่านต้องการทราบจำนวนวันในการคำนวณดอกเบี้ยค้างรับของเงินฝากประจำ ปี พ.ศ. 2559 จากเงินฝากธนาคารประจำประเภท 6 เดือน จำนวนเงิน 1,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 1.50 ต่อปี รับดอกเบี้ยทุก 6 เดือน คือ วันที่ 31 มีนาคม และ 31 สิงหาคม

         วิธีคิด 1) 2559 - 543 = 2016

                  2) 2016/4 = 504 ได้ผลลัพธ์ตัวเลขจำนวนเต็มบวก คือ 504 แสดงว่าเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน จึงใช้ตารางการคำนวณ 366 วัน

                  3) กรณีดังกล่าวรับดอกเบี้ยล่าสุดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2559 ดังนั้น วันที่เริ่มต้นในการคำนวณดอกเบี้ยค้างรับของเงินฝากประจำ คือ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 จึงลากลูกศรที่ช่องวันเริ่มต้น (แนวนอน) และเดือน (แนวตั้ง) ตามวันที่ 1 กันยายน 2559

(หมายเหตุ : ตารางนี้ใช้สำหรับงบการเงินที่มีรอบปีงบประมาณ เริ่ม 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559)

 

         ดังนั้น จากตัวอย่างจะได้ผลลัพธ์จำนวนวันในการคำนวณดอกเบี้ยค้างรับของเงินฝากประจำ ปี พ.ศ. 2559 คือ 30 วัน

          กรณีการคำนวณวันของค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เช่น ค่าเช่าค้างจ่าย ค่าเบี้ยประกันภัยค้างจ่าย เป็นต้น

          หากท่านต้องการทราบจำนวนวันที่ค้างชำระค่าเบี้ยประกันภัยค้างจ่าย ปี พ.ศ. 2558 จำนวนเงิน 120,000 บาท ระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558

          วิธีคิด 1) 2558 - 543 = 2015

                   2) 2015/4 = 503.75 ได้ผลลัพธ์ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม คือ 503.75 แสดงว่าเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน ให้ท่านใช้ตารางการคำนวณ 365 วัน

                   3) ลากลูกศรที่ช่องวันเริ่มต้น (แนวนอน) และเดือน (แนวตั้ง) ตามวันที่ 1 มกราคม 2558

(หมายเหตุ : ตารางนี้ใช้สำหรับงบการเงินที่มีรอบปีงบประมาณ เริ่ม 1 ตุลาคม 2557 – 30 กันยายน 2558)

 

         ดังนั้น จากตัวอย่างจะได้ผลลัพธ์จำนวนวันที่ค้างชำระค่าเบี้ยประกันภัยค้างจ่าย ปี พ.ศ. 2558 คือ 273 วัน

 

ตารางการคำนวณหาจำนวนวันในการคิดค่าเสื่อมราคาจากการใช้งานสินทรัพย์ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ หรือค่าใช้จ่ายค้างจ่าย โดย ฝ่ายตรวจสอบภายใน สำนักงาน กกพ. 

ตารางการคำนวณ 365 วัน ตารางการคำนวณ 366 วัน